ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บบล็อกวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู จัดทำโดย นางสาวพิชญามน เกษมคุณ ค.บ.4 คณิตศาสตร์

...^(-/\-)^ สวัสดีผู้เข้ามาเยี่ยมชมบล็อกทุกท่านนะคะ^^* บล็อกนี้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา PC 9203 เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับครู ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ค่ะ จัดทำโดย นางสาวพิชญามน เกษมคุณ คบ.4 คณิตศาสตร์ หมู่2 มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงค่ะ.......^___^

14 มิถุนายน 2556

การบูรณาการกับความพอเพียง
ในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษานั้น  จะต้องมุ่งพัฒนาที่ตัวครูก่อนเป็นอันดับแรก เพราะครูถือว่าเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการถ่ายทอดความรู้และปลูกฝังสิ่งต่างๆให้แก่เด็ก  จึงควรส่งเสริมครูให้มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างถ่องแท้ก่อนเพราะเมื่อครูเข้าใจครูก็จะได้เป็นแบบอย่างทีดีให้แก่เด็กได้ ครูจะสอนให้เด็กรู้จักพอ ครูจะต้องรู้จักพอก่อนโดยอยู่อย่างพอเพียงและเรียนรู้ไปพร้อมๆกับเด็ก  โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องมีสติในการเลือกรับข้อมูลต่างๆที่เข้ามา  รู้จักเลือกรับและรู้จักต่อยอดองค์ความรู้ที่มีอยู่  หมั่นศึกษาเพิ่มพูนความรู้อย่างเป็นขั้นเป็นตอน ไม่ก้าวกระโดด ในการเลือกรับข้อมูลนั้นต้องรู้จักพิจารณารับอย่างเป็นขั้นเป็นตอน รู้จักแก้ไขปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน  ประเมินความรู้และสถานการณ์อยู่ตลอดเวลาจะได้รู้จักและเตรียมพร้อมที่จะรับมือกับสภาพและผลจากการเปลี่ยนแปลงในมติต่างๆได้อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
เป้าหมายสำคัญของการขับเคลื่อน  คือ  การทำให้เด็กรู้จักความพอเพียง  ปลูกฝัง  อบรม  บ่มเพาะให้เด็กมีความสมดุลทางเศรษฐกิจ  สังคม   สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม โดยสอดแทรกแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เข้าเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรสาระเรียนรู้ต่างๆเพื่อสอนให้เด็กรู้จักการใช้ชีวิตได้อย่างสมดุลตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง เห็นคุณค่าของทรัพยากรต่างๆ รู้จักอยู่ร่วมกับผู้อื่น   รู้จักเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และแบ่งปัน   มีจิตสำนึกรักษ์สิ่งแวดล้อมและเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมค่านิยมความเป็นไทยท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงต่างๆ   รู้ว่าตนเองเป็นองค์ประกอบหนึ่งในสิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรมของโลก การกระทำของตนย่อมมีผลและเชื่อมโยงกับสภาพแวดล้อมในโลกที่ตนเองเป็นสมาชิกอยู่ด้วย   ซึ่งการจะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวข้างต้น   สำคัญคือครูจะต้องรู้จักบูรณาการการเรียนการสอนให้เด็กและเยาวชนเห็นถึงความเชื่อมโยงในมิติต่างๆ   ทั้งด้านสิ่งแวดล้อม   วัฒนธรรม   สังคมและเศรษฐกิจ   ซึ่งความเป็นองค์รวมนี้จะเกิดขึ้นได้   ครูต้องโดยใช้ความรู้และคุณธรรมเป็นปัจจัยในการขับเคลื่อน
นอกจากนี้   ในการส่งเสริมให้นำหลักปรัชญาฯไปใช้ในสถานศึกษาต่างๆ นั้น  อาจจะใช้วิธี   “เข้าใจ   เข้าถึง   และพัฒนา”   ตามหลักการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวว่า   สำคัญที่สุดครูต้องเข้าใจเรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงก่อน   โดยเข้าใจว่าแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเป็นแนวคิดที่สามารถเริ่มต้นและปลูกฝังได้ผ่านการทำกิจกรรมต่างๆ ในโรงเรียน   เช่น   กิจกรรมการรักษาสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน   การกำจัดขยะในโรงเรียน   การสำรวจทรัพยากรของชุมชน   ฯลฯ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น